Line IconTelephone Icon
หน้าแรก > บทความเกี่ยวกับสุขภาพ
ประโยชน์ของธัญพืชต่อสุขภาพ

By...  Enxo Coffee เอนโซ่ กาแฟเพื่อสุขภาพผสมธัญพืช

กระแสรักสุขภาพในปัจจุบันออกตัวมาค่อนข้างแรง ผู้คนทั่วโลกมากมายเริ่มหันมาใส่ใจกับการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีกันมากขึ้น ธัญพืชเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่โดดเด่นมากและเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป นั่นเพราะมันมี ใยอาหาร สารอาหารและวิตามินที่หลากหลาย ให้คุณค่าบำรุงได้พิเศษเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ

ธัญพืช (Grains หรือ Cereals) คือกลุ่มพืชที่คนเราปลูกเพื่อที่จะนำเมล็ดพืชนั้นมากินเป็นอาหาร โดยแบ่งเป็นสองพวก พวกแรกซึ่งเป็นเป็นกลุ่มที่เป็นธัญพืชส่วนใหญ่ ก็คือกลุ่มตระกูลหญ้า เช่น ข้าวโพด ข้าวโอีต ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ข้าวบาร์เล่ย ลูกเดือย ข้าวไรย์ เป็นต้น ส่วนอีกกลุ่มก็คือกลุ่มที่ไม่เป็นหญ้า แต่เมล็ดสามารถนำมากินได้เช่นเดียวกับธัญพืชกลุ่มหญ้า เรียกกลุ่มนี้กันว่าธัญพืชเทียม เช่น ควินัว(Quinoa) บัควีท (Buckwheat) อมาแรนธ์ (Amaranth) ทีฟ (Teff) เมล็ดเชีย (Chia Seeds) และอีกหลายๆชนิด ซึ่งพืชในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักจะมีสารอาหารบางอย่างที่ค่อนข้างจะโดดเด่นกว่าธัญพืชธรรมดา


ธัญพืชสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

1. ธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole Grains)

คือธัญพืชที่ยังคงสภาพของเมล็ดตามธรรมชาติ และยังประกอบไปด้วยส่วนสำคัญของเมล็ดทั้ง 3 ส่วนได้แก่ รำข้าว(ชั้นนอกสุดของเมล็ด) จมูกข้าว(ส่วนเล็กๆทีอยู่ในเมล็ด) และเนื้อเมล็ด(เนื้อส่วนใหญของเมล็ด และส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรด) พวกมันจะไม่ถูกนำไปขัดสีหรือขัดเปลือกจนสารอาหารดีๆหายไป 

การกินธัญพืชประเภทนี้จึงถือว่าคนกินจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากธัญพืชได้จริงๆ เพราะจะยังอุดมไปด้วย ใยอาหาร วิตามิน แร่ธาติ และสารต้านอนุมูลอิสระ

2. ธัญพืชขัดสี (Refined Grains)

คือธัญพืชเต็มเมล็ดที่ถูกนำไปผ่านขบวนการขัดสีหรือขัดเปลือกด้านออกจนทำให้เหลือส่วนที่เป็นเนื้อในเมล็ด แล้วนำเอาส่วนเนื้อในเมล็ดนี้มากิน

อย่างไรก็ดี แม้ว่าการขัดเมล็ดจะทำให้ผิวของธัญพืขดูสะอาดตาน่ากิน แต่พวกมันก้ได้สูญเสีย ใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุออกไปค่อนมากอยู่เหมือนกัน ทำให้คนที่กินได้รับสารอาหารน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นกลุ่มคนที่รักสุกภาพส่วนใหญ่จะโหยหาแต่ธัญพืชเต็มเมล็ด.


ประโยชน์ของการกินธัญพืช

ธัญพืชไม่ใช่ว่าเป็นแค่เพียงแหล่งพลังงานที่สำคัญ แต่ยังอุดมไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุและวิตมินที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด พอจะสรุปได้ดังนี้


1. ช่วยเสริมระบบย่อยอาหาร

ธัญพืชอุดมไปด้วยใยอาหารหรือที่เรียกว่าไฟเบอร์ (Fiber) ใยอาหารคือส่วนประกอบด้านนอกของเมล็ด โดยจะพบในธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีเป็นส่วนใหญ่ เป็นสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่จะไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย ช่วยให้ส่งเสริมระบบขับถ่ายให้ดีขึ้นและทำความสะอาดลำไส้ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต และลดคลอเลสเตอรอบ


2. เป็นขุมพลังงานที่ดีสำหรับร่างกาย

คาร์โบไฮเดรตหรือสารอาหารกลุ่มแป้ง มักจะพบได้มากในธัญพืชตระกูลข้าว เช่น ข้าว ข้าวโอ๊ต และข้าวสาลี โดยสารอาหารในกลุ่มนี้จะเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน และเมื่อดูดซึมเข้าร่างกายแล้ว มันจะค่อยๆส่งพลังงานให้กับร่างกายอย่างช้าๆโดยจะไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงหรือลดลงอย่างรวดเร็ว แต่มันจะเพียงพอที่ทำให้ร่างกายๆของเราได้รับพลังงานเพื่อเอาไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างในแต่ละเวัน ไม่ว่าจะเป็นการ วิ่ง เดิน ทำนู่นทำนี่ เป็นต้น


3. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

การเลือกกินกลุ่มธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต และคิวนัว สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ นั่นเพราะธัญพืชกลุ่มนี้มีปริมาณของไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ค่อนข้างสูงและมีดัชนีน้ำตาลที่ค่อนข้างต่ำ จึงใช่ช่วยชะลอกระบวนการย่อยอาหารในร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้า

นอกจากนี้ ธัญพืชบางชนิด อาทิ ข้าวโอ๊ตและข้าวบารร์เลย์ กลุ่มนี้มีสารอาหารที่เรียกว่า เบต้ากลูแคนและแมกนีเซียม ช่วยลดระดับปริมาณน้ำตาลหลังทานอาหารและช่วยเสริมการทำงานของอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายสู่สมดุลย์ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานได้


4. เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี

ธัญพืชนับได้ว่าเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนจะเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะกลุ่มธัญพืชเต็มเมล็ด อาทิ ข้าวโอ๊ต ควินัว และเมล็ดเจีย ซึ่งกลุ่มนี้จะมีปริมาณของโปรตีนค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถช่วยในการซ่อมแซมและเสริมสร้างเซลล์และกล้ามเนื้อของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งทำให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น


5. ช่วยลดคลอเลสเตอรอล

ธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และ ธัญพืชเต็มเมล็ด มีใยอาหารชนิดละลายเช่น เบต้า-กลูแคน (Beta-Glucan) ซึ่งคอยช่วยจับคอเลสเตอรอลในระบบทางเดินอาหารและลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลให้ระดับของคลอเลสเตอรอลถูกควบคุมและลดระดับลง

สารอาหารในธัญพืชบางอย่างเช่น ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) ยังมีส่วนช่วยในการช่วยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง เป็นอะไรที่น่าสนใจมากทีเดียว

นอกจากนี้ใยอาหารในธัญพืชก็ยังช่วยลดระดับ LDL (คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี) ได้อีกด้วย โดยช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลออกจากร่างกายทิ้งไปผ่านระบบขับถ่าย


6. ช่วยลดความเสี่ยงของโรคบางชนิด

ธัญพืชล้วนอุดมไปด้วยไฟเบอร์ แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพของร่างกาย

วิตามินและแร่ธาตุในธัญพืช สามารถช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกายได้ ทำให้ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคหลอเลือดและโรคหัวใจได้อีกทางหนึ่ง

ไฟเบอร์ในธัญพืชช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้เลือดให้สู่สมดุลย์ได้ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เช่นกัน

สารต้านอนุมูลอิสระในธัญพืชก็สามารถช่วยลดอาการอักเสบของอวัยวะต่างภายในร่างกายส่งผลให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังบางชนิดลดน้อยล อาทิ โรคหัวใจและมะเร็งบางชนิด

ดังนั้นการบริโภคธัญพืชเต็มเมล็ดอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นวิธีง่ายที่สามารถปฎิบัติได้เองเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี


7. ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท

ธัญพืชมีสารอาหารสำคัญหลากหลายชนิดที่จะช่วยบำรุงสมองและระบบประสาทให้ทำงานได้เต็มที่อย่างทรงประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสารอาหารบางชนิดช่วยเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างเซลประสาท

ธัญพืชเช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ควินัว มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นองค์ประกอบหลัก จึงเป็นแหล่งพลังงานที่ดีให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในแต่ละวัน

เมล็ดเจีย เมล็ดเฟล็กซ์ มีโอเมก้า-3 ที่ช่วยพัฒนาสมองและการทำงานของระบบประสาท

ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี อุดมไปด้วยวิตามินบีและสังกะสี ช่วยเสริมสร้างระบบการทำงานของประสาท ลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์


8. ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

ธัญพืชมีสารอาหารสำคัญมากมายหลายชนิดที่จะช่วยบำรุงกระดูกและฟัน อาทิ แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม ฟอสฟอรัส วิตามินเค วิตามินดี และใยอาหาร ซึ่งล้วนแต่เป็นสารอาหารสำคัญในการบำรุงการดูกและฟัน

เช่น แคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน แมกนีเซี่ยมเป็นตัวเสริมให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซี่ยมได้ดียิ่งขึ้น ฟอสฟอรัสช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงและยืดหยุ่น วิตามินเค2ช่วยนำพาแคลเซี่ยมไปเสริมความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน วิตามินดีช่วยในการดูดซีมแคลเซี่ยมเข้าร่างกย และใยอาหารช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลไม่ให้ฟันของคุณผุได้ง่าย


9. ช่วยควบคุมน้ำหนัก

เพราะว่าธัญพืชอุดมไปด้วยสารอาหารประเภทไฟเบอร์ จึงทำให้หลังจากินอาหาร คุณจะรู้สึกได้ว่าอิ่มนานขึ้น เกิดความอยากอาหารน้อยลง 

ธัญพืชบางชนิด เช่น ข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เลย์ กลุ่มนี้มีคุณสมบัติช่วยให้กระบวนการย่อยอาหารในร่างกายทำงานช้าลง ส่งผลให้การกระบวนการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายค่อยๆดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ระดับพลังงานในร่างกายเข้าสู่ภาวะสมดุลย์ คงที่ มีความอยากอาหารน้อยลง

ธัญพืชโดยเฉพาะธัญพืชเต็มเมล์ด มีปริมาณโปรตีนและไขมันมันดีค่อนข้างสูง ซึ่งนอกจะช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อให้กับร่างกายแล้วยังช่วยปรับสมดุลย์การเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ช่วยลดแคลอรีส่วนเกิน ทำให้การควบคุมน้ำหนักดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ธัญพืชช่วยควบคุมน้ำหนักได้เพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ซึ่งช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน ลดความอยากอาหาร และป้องกันการรับประทานอาหารเกินความจำเป็น ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำในธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เลย์ ยังช่วยชะลอการย่อยอาหารและการดูดซึมของน้ำตาล ทำให้ระดับพลังงานคงที่และลดความหิวระหว่างวัน นอกจากนี้ ธัญพืชเต็มเมล็ดยังมีโปรตีนและไขมันดีที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและรักษาการเผาผลาญในร่างกาย การบริโภคธัญพืชเต็มเมล็ดแทนธัญพืชขัดสีช่วยลดแคลอรีส่วนเกินและเพิ่มสารอาหารสำคัญต่อสุขภาพ การรวมธัญพืชในอาหารประจำวันจึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการควบคุมน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน.


ธัญพืชขนิดต่างๆและประโยชน์เฉพาะตัว

ธัญพืชมีมากมายหลายชนิด และแต่ละชนิดจะมีองค์ประกอบของใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ ที่ต่างกันแล้วแต่ชนิดของธัญพืชนั้นๆ เราพอจะสรุปประโยชน์ของธัญพืชแต่ละชนิดได้ดังนี้...


ประโยชน์ของข้าวโอ๊ต

1. ข้าวโอ๊ต (Oat)

ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชเต็มเมล็ดชนิดหนึ่ง แต่เดิมเป็นเพียงหญ้าชนิดหนึ่งที่บังเอิญเกิดขึ้นแทรกอยู่ในนาข้าวบาร์เล่ย์และข้าวสาลี เดิมทีก็ถูกนำไปเป็นอาหารสัตว์ แต่ต่อมาไม่นานชาวตะวันตกก็เริ่มนำมารับประทานเป็นอาหาร กินได้ทั้งเมล็ด และเริ่มเพาะปลูกกันอย่างเป็นจริงเป็นจังจนเป็นธัญพืชยอดนิยมรองลงมาจากข้าวสาลี

ข้าวโอีตมีสารอาหารอยู่ค่อนข้างหลากหลาย อาทิ คาร์โบไฮเดรต เบต้ากลุแคน โปรตีน วิตามินบี แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก

ข้าวโอ๊ตมีไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำได้ มีความสามารถช่วยดักจับไขมันในเลือดและลดระดับคลอเลสเตอรอลได้ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด

ไฟเบอร์ที่มีอยู่ในปริมาณมาก ช่วยทำให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น สะอาดขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้

ข้าวโอ๊ตมีระดับดัชนีน้ำตาลค่อนข้างต่ำ ซึ่งจะช่วยชะลอกระบวนการดูดซึมสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตเข้าสู่ร่างกายอย่างช้า ทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสู่สมดุลย์ ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป อีกทั้งทำให้รู้สึกอิ่มนาน ทำให้ความอยากอาหารลดน้อยลง

ข้าวโอีตถือว่าเป็นอาหารที่ไม่มีกลูเตนและแลคโตส สามารถนำมาบริโภคในรูปแบบของอาหารได้หลายอย่าง อาทิ โจ๊ก กราโนล่า สมูทตี้ หรือจะใส่เพิ่มลไปในขนมอบก็ได้ นับได้ว่าเป็นอาหารอร่อยที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย


ประโยชน์ของลูกเดือย

2. ลูกเดือย (Jobs' Tears)

ลูกเดือยเป็นเมล็ดธัญพืชเต็มเมล็ดที่จัดอยู่ในกลุ่มธัญพืชตระกูลหญ้าเช่นเดียวกับ ข้าวโพดและข้าวสาลี มีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง มีสารอาหารที่หลากหลาย ทั้งโปรตีน ไฟเบอร์ คาร์โบไฮเดรต และวิตมีนบี อีกทั้งยังเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของกลูเตน (Gluten-Free)

ลูกเดือยอุดมไปด้วยแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง

ลูกเดือยมีปริมาณไฟเบอร์ค่อนข้างสูงรวมทั้งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ช่วยส่งเสริมการทำงานของลำไส้ ควบคุมการดูดซึมของปริมาณน้ำตาลในเลือด ช่วยลดคลอเลสเตอรอล

ในทางการแพทย์ของจีน ลูกเดือยเป็นอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เป็นแหล่งพลังงานของชี่ มีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะอ่อนๆ ช่วยลดการสะสมตัวของน้ำและของเสียใน่างกาย ช่วยในการลดอาการอักเสบและลดภาระการทำงานของไตในกระบวนการกรองของเสีย

การรับประทานลูกเดือย สามารถนำมาต้มแล้วทานเปล่าๆได้เลย หรือจะนำไปทำเสริมกับขนมหวาน เช่น บัวลอยลูกเดือย ก็ได้ บางคนก็เอาไปทำเป็นเครื่องดื่มสมูธตี้ก็มี 


ประโยชน์ของข้าวกล้องหอมแดงงอก

3. ข้าวกล้อง (Brown Rice)

ข้าวกล้องคือข้าวที่ยังไม่ได้ขัดสี จัดเป็นธัญพืชในตระกูลหญ้าที่ถูกนำมาใช้เป็นอาหารหลักสำหรับผู้คมากมาย ข้าวกล้องเป็นข้าวที่ยังมีเปลือกหุ้มเมล็ดอยู่ ไม่ได้ผ่านกระบวนการขัดสีใดๆ ทำให้ยังมีไฟเบอร์และสารอาหารสูงกว่าข้าวขาว การรับประทานข้าวกล้องในปัจจุบันจึงได้รับความนิยมบริโภคกันอย่างมากในกลุ่มคนรักสุขภาพ

ข้าวกล้องเป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ จึงช่วยสนุบสนุนการทำงานของลำไส้ ช่วยทำความสะอาดลำไส้ และช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ อีกทั้งยังช่วยควบคุมความสมดุลย์ของระดับน้ำตาลในร่างกาย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ทำให้รู้สึกอิ่มนาน อยากอาหารน้อยลง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

ข้าวกล้องมีสารลิกแนน (Lignan) ที่ทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดอาการอักเสบของอวัยวะต่างภายในของร่างกายและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนานำข้าวกล้องพันธุ์หอมแดงมาผ่านขบวนการงอก เรียกว่าข้าวกล้องหอมแดงงอก โดยการแช่ในน้ำจนข้าวกล้องเริ่มงอก ทำให้มีสารอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสารอาหารทีเรียกว่า กาบา (Gaba) ช่วยในการรักษาสมดุลของสมองและลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ 


ประโยชน์ของงาดำ

4. งาดำ (Black Sesame)

งาดำเป็นเมล็ดธัญพืชเล็กๆตระกูลงา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีดำ มีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง มีสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดมาก เช่น วิตามินบี 1, บี 2, บี 3, บี 5, บี 6, บี 9, แคลเซียม, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, โซเดียม, ฟอสฟอรัส, สังกะสี และเหล็ก จึงกลายเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่นิยมรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

งาดำอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกกันเท่ๆว่า เซซามีน (Sesamin) ซึ่งเป็นสารประกอบฟีนอลิกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นสารอนุมูลอิสระทรงประสิทธิภาพ ช่วยลดการก่อนตัวของอนุมูลอิสระในร่างกายอันเป็นต้นเหตุสำคัญของการเสื่อมของเซลล์ อีกทั้งยังช่วยรักษาระดับคลอเลสเตอรอลและความดันโลหิตซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ

นอกจากนี้งาดำยังอุดมไปด้วยแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และปัองกันการหงอกของเส้นผม

การรับประทานงาดำสามารถทำได้หลายวิธี อาทิ นำมาผสมในอาหารหรือเครื่องดื่มต่างๆ จะนำมาโรยบนข้าวสวย สลัด หรือโยเกิร์ตก็ได้ ก็ล้วนแต่ดีต่อสุขภาพของคุณ


ประโยชน์ของเมล็ดเชีย

5. เมล็ดเชีย (Chia Seeds)

เมล็ดเชีย หรือเมล็ดเจีย คือเมล็ดธัญพืชเม็ดเล็ก มีรูปร่างคล้ายวงรี มีทั้งสีดำ สีขาว สีน้ำตาลคละกันไป มีผิวเรียบเนียน มีลักษณะเด่นคือ ถ้านำมันไปแช่น้ำ มันจะพองตัวออกเหมือนเม็ดแมงลัก เป็นที่นิยมในการใช้ทำอาหาร เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะในเรื่องของโปรตีน กรดไขมันโอเมก้า-3 ใยอาหาร แร่ธาตุ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมสุขภาพอีกด้วย

วิธีรับประทานเม็ดเชีย เพียงเอามาแช่น้ำ 10-15 นาที ก็จะขยายตัวเปลี่ยนเป็นเจล แล้วก็นำมารับประทานได้ทันที


 ประโยชน์ของเมล็ดแฟลกซ์

6. เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed)

เมล็ดแฟลกซ์เป็นธัญพืชโบราณที่ปลูกและรับประทานกันมาตั้งแตสมัยอียิป์และเมโสโปเตเมีย มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กรูปร่างรีและแบน มีขนาดประมาณสัก 4-6 มิลลิเมตร มีอยู่สองสี คือสีน้ำตาลและสีทอง เป็นธัญพืชที่ถูกจัดว่าเป็นซุปเปอร์ฟู้ด(Superfood) เพราะมีสารอาหารที่ค่อนข้างจะหลากหลาย อาทิ กรดไขมันโอเมก้า-3, ใยอาหาร,ลิกแนน (Lignans), โปรตีน, แมกนีเซียม, ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก

เมล็ดแฟลกซ์อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 และใยอาหาร ช่วยลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิดได้อย่างดี อีกทั้งยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย

ไฟเบอร์หรือใยอาหารในเมล็ดแปลกซีด เป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ สามารถช่วยในการย่อยอาหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบขับถ่าย และช่วยเพิ่มความอิ่ม ลดความอยากอาหาร

ส่วนวิธีรับประทานนั้น เนื่องจากแฟลกซีดเป็นเมล็ดธัญพืชเปลือกแข็ง จึงขอแนะนำให้บดก่อนนำมารับประทาน จะใช้โรยในอาหาร ผสมในเครื่องดื่ม หรือจะผสมในขนมก็ได้ นอกจากนี้น้ำมันที่สกัดได้จากแฟลกซีดถือว่าเป็นน้ำมันจากเมล็ดธัญพืชชั้นดี สามารถนำไปปรุงอาหารหรือราดสลัดก็ได้เช่นกันได้เช่นกัน


ประโยชน์ของเมล็ดทานตะวันต่อสุขภาพ

7. เมล็ดทานตะวัน (Sunflower Seeds)

เมล็ดทานตะวัน เป็นธัญพืชที่คนไทยชอบนำมากินเล่นกัน เป็นเมล็ดที่เก็บมาจากต้นดอกทานตะวัน ซึ่งเดิมดอกทานตะวันตามประวัติศาสตร์ที่มี มีถิ่นกำเนิดมาจากชาวอินเดียนแดงผู้เป็นชนพื้นเมืองในอเมริกา ที่มีการปลูกและกินเมล็ดทานตะวันมาตั้งแต่โบราณก่อนที่จะแพร่กระจายไปปลูกไปทั่วโลก

เมล็ดทานตะวันเป็นเมล็ดพืชที่มีเปลือกแข็งสีดำหรือเป็นลายสีดำสลับขาวแล้วแต่สายพันธุ์ ขนาดเรียวเล็กแบนนิดๆ แต่เนื้อในจะค่อนข้างนิ่มและหอม มันนิดๆ มักนำมาบริโภคเป็นของหวาน หรือสะกัดน้ำมันมาใช้ประกอบอาหาร

เมล็ดทานตะวันอุดมไปด้วยวิตามินอี ไขมันดี โปรตีน แมกนีเซียม สังกะสีและซีลีเนียม ช่วยต้านอนุมูลอิสระและชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ลดระดับคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือดและช่วยส่งเสริมสุขภาพของหัวใจ มีโปรตีนที่ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอต่างๆในร่างกาย มีแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงกระดูกและระบบประสาท เหมาะสำหรับการบริโภคในทุกๆวัน


ประโยชน์ของเมล็ดฟักทองต่อสุขภาพ

8. เมล็ดฟักทอง (Pumpkin Seeds)

เมล็ดฟักทองได้จากในผลฟักทอง รูปร่างแบนและเรียวยาว มีเปลือกแข็งเป็นสีขาวหรือครีม ด้านในเป็นเนื้อสีเขียวอ่อน สามารถนำมากินแบบดิบๆหรือจะคั่วก่อนก็ได้ บางครั้งจะเอาไปอบกรอบแล้วไปโรยหน้าสลัดหรืออาหารก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปสกัดเอาน้ำมันเมล็ดฟักทองเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาหารได้อีกด้วย  

เมล็ดฟังทองไม่เพียงแค่อร่อย แต่ยังมีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยมีทั้งโปรตีน ไขมันดี วิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี วิตามินอี และวิตามินบี

นเมล็ดฟักทองช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและส่งเสริมสุขภาพหัวใจ ป้องกันการอักเสบและเพิ่มความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน มีสารทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งช่วยให้ร่างกายผลิตเซโรโทนินและเมลาโทนินที่ช่วยให้นอนหลับสบาย แมกนีเซียมและฟอสฟอรัสช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน กรดไขมันโอเมก้า 3 และสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการอักเสบในร่างกาย มีไฟเบอร์ช่วยส่งเสริมการทำงานของลำไส้และป้องกันอาการท้องผูก


ประโยชน์ของข้าวสาลีต่อสุขภาพ

9. ข้าวสาลี (Wheat)

ข้าวสาลีเดิมมีถิ่นกำเนิดจากดินแดนตะวันออกกลาง ในซีเรีย อิรักและอิหร่าน ต่อมาเมื่อได้รับความนิยมเป็นพืชเศรษฐกินก็กระจายความนิยมออกไปทั่วโลก 

ข้าวสาลี เป็นธัญพืชที่ได้มากจากเมล็ดของต้นข้าวสาลี ซึ่งถือเป็นแหล่งอาหารสำคัญสำหรับผู้คนมากมายทั่วโลก โดยนิยมมาต้มกิน นำไปแปรรูปเป็นแป้งสาลีสำหรับทำขนมปังหรือประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด

ข้าวสาลีมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากการใช้เมล็ดทั้งเมล็ด ที่รวมทั้งรำข้าว จมูกข้าว และเอนโดสเปิร์มไว้ด้วยกัน ทำให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน 

ข้าวสาลีอุดมไปด้วยสารอาหารหลากชนิด อาทิ ใยอาหาร คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน วิตามินอี วิตามินบี1-2-3-6 แมงกานีส ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม สังกะสี ซีลีเนียม และธาตุเหล็ก

ข้าวสาลีให้พลังงานแก่ร่างกายค่อนข้างยาวนานได้ทั้งวัน ช่วยบำรุงระบบประสาท ช่วยในการไหลเวียนโลหิตและลดคอเลสเตอรอล ช่วยการทำงานของสมองและการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง สำคัญต่อสุขภาพฟันและกระดูก และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการเจริญเติบโต

การบริโภคข้าวสาลี แนะนำให้บริโภคข้าวสาลีแบบเต็มเมล็ด หรือที่เรียกกันว่า โฮลวีต (Whole Wheat) หรือ โฮลเกรน (Whole Grain) เพราะจะทำให้ได้รับคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด แต่มีข้อควรระวัง เนื่องจากข้าวสาลีมีสารกลูเตนในปริมาณมาก (Gluten) จึงไม่เหมาะกับผู้ที่แพ้กลูเตน


ประโยชน์ของข้าวบาร์เลย์

10. ข้าวบาร์เลย์ (Barley)

ข้าวบาร์เลย์เป็นธัญพืชชนิดหนึ่งที่มนุษย์ปลูกแลบริโภคกันมานานกว่าพันปี มีลักษณะคล้ายมีรูปร่างคล้ายลูกเดือยแต่มีสีอ่อนกว่านิดหน่อย เมื่อสุกจะให้รสสัมผัสที่เหนียวนุ่ม มีรสชาติออกมันนิดหน่อย มีถิ่นกำเนิดในบริเวณแหล่งจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ของตะวันออกกลาง (Fertile Crescent) และต่อมาก็ได้รับความนิยมในการปลูกและบริโภคไปทั่วโลก  

นิยมนำมาหุงเหมือนข้าวแล้วบริโภค นำมาทำเป็นเครื่องดื่ม หรือจะนำไปหมักเป็นเบียร์ก็ได้

ข้าวบาร์เลย์เป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการหลากชนิด อาทิ ใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต ไขมันต่อ วิตามินบี1-3 ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ซิลิเนียมและฟอสฟอรัส

ข้าวบาร์เลย์มีเบต้ากลูแคนช่วยลดคอเลสเตอรอลและลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ มีใยอาหารช่วยให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลงเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องเบาหวานรวมทั้งทำให้อิ่มนานและควบคุมน้ำหนัก มีแร่ธาตุสำคัญอย่างซีลีเนียมและสังกะสีที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน


ประโยชน์ของข้าวฟ่างต่อสุขภาพ

11. ข้าวฟ่าง (Millet)

ข้าวฟ่างเป็นธัญพืชชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมบริโภคสำหรับผู้คนทั่วโลก มีถิ่นกำเนิดมาจากทางแอฟริกาและเอเชียเขตร้อน มีเมล็ดขนาดเล็ก รูปแบบกลมและรี สีน้ำตาลอ่อน ให้รสชาติคล้ายถั่ว แต่ออกจะหวานนิดๆ เมื่อไปทำสุกแล้วจะให้รสชาติที่นุ่มเหนียวนิดๆ เคี้ยวกันเพลินเลย

ข้าวฟ่างอุดมไปด้วยสารอาหารหลากชนิด อาทิ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ใยอาหาร วิตามินบี เหล็ก แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส การนำมารับประทานสามารถนำไปหุงแล้วกินเหมือนข้าว ทำโจ้กก็ได้ หรือจะเอาไปทำเป็นแป้งเพื่อประกอบอาหาร ในยุโรปนิยมเอาไปหมักเป็นเบียร์ข้างฟ่างไปเลย

ข้างฟ่างมีค่าดัชนีน้ำตาลค่อนข้างต่ำ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ค่อนข้างเหมาะกับผู้ที่ต้องควบคุมการบริโภคน้ำตาลหรือเป็นเบาหวาน อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยควบคุมระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกายได้อีกด้วย

ข้าวฟ่างมีสารอาหารกลุ่มแมกนีเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกแลฟัน

ที่สำคัญข้าวฟ่างไม่มีกลูเตน จะเหมาะมากสำหรับผู้ที่แพ้กลูเตน


ประโยชน์ของข้าวไรน์ต่อสุขภาพ

12. ข้าวไรย์ (Rye)

ข้าวไรย์เป็นธัญพืชโบราณที่เพาะปลูกและนำมาบริโภคกันนานกว่า 5พันปีมาแล้ว มีถิ่นกำเนิดบริเวณเอเชียกลางและตะวันออกกลาง ภายหลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรป เมล็ดข้าวไรน์มีลักษณะเป็นเมล็ดยาว สีเขียวหรือสีเทาเมื่อยังไม่สุก และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อสุก มีไฟเบอร์สูงกว่าข้าวสาลี

ข้าวไรย์มักถูกนำมาทำเป็นขนมปังไรน์ (Rye Bread) ทีมีรสชาติเฉพาะตัวและเนื้อค่อนข้างแน่นหนึบ บางครั้งก็นิยมเอาไปทำซีเรียลอาหารมือเช้า แป้งข้าวไรน์นิยมเอาไปทำขนมต่างๆค่อนข้างหลากหลาย เข่น พายหรือเค้ก นอกจากนี้ข้าวไรน์ยังสามารถนำไปหมักเป็นวิสกี้ได้อีกด้วย

ข้าวไรย์มีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องการช่วยระบบย่อยอาหาร เนื่องจากมีไฟเบอร์สูงที่ช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ ข้าวไรย์ยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์และลดการอักเสบในร่างกาย รวมถึงมีแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็น เช่น แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินบีที่ช่วยบำรุงกระดูกและระบบประสาท


ประโยชน์ของข้าวฟาโรต่อสุขภาพ

13. ข้าวฟาโร (Farro)

ข้าวฟาโรเป็นธัญพืขโบราณตระกูลเดียวกันกับข้าวสาลี มีต้นกำเนิดเดิมมาจากแถบตะวันออกกลางและเมดิเตอร์เรเนี่ยน โดยเฉพาะในโรมัน ข้าวฟาโรถือเป็นอาหารหลักของชาวโรมันเลย 

ข้าวมีเนื้อสัมผัสที่ค่อนข้างแน่น เคี้ยวหนึบกำลังดี รสชาติจะออกหวานหวานมันนิดๆคล้ายพวกถั่ว โดยสามารถนำมารับประทานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะนำมาหุงเหมือนข้าวสวย เพิ่มความเข้มข้นให้ซุป ใส่ในสลัดผัก ทำเป็นแป้งขนมปังหรือพาสต้าก็ได้ ในอิตาลีนับว่านิยมเอาไปทำเส้นพาสตากันมากทีเดียว 

ข้าวฟาโรมีสารอาหารค่อนข้างหลากหลาย อาทิ คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ โปรตีน ไขมัน น้ำตาลธรรมชาติ แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินบี3 และวิตามินบี6

ข้าวฟาโรมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายเพราะเป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์สูง ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีโปรตีนสูงเหมาะสำหรับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและให้พลังงานอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังมีแมกนีเซียมช่วยบำรุงระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เหล็กช่วยป้องกันภาวะโลหิตจาง และสังกะสีที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ วิตามินบี3 และบี6 ในข้าวฟาโรยังช่วยเผาผลาญพลังงานและบำรุงสมอง อีกทั้งยังมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ทำให้อิ่มนาน ลดความหิว และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก


ประโยชน์ของบัควีทต่อสุขภาพ

14. บัควีท (Buckwheat)

เมล็ดบัควีทมีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยม มีลักษณะคล้ายผลของต้นบีช จัดเป็นธัญพืชเทียมคล้ายควินัว เดิมมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียกลาง แถบจีนและธิเบต เป็นพืชโบราณที่ปลูกและบริโภคกันมาตั้งแต่ 6พันปีก่อน ต่อมาจึงเริ่มแพร่ขยายไปทั่วโลก ปัจจุบันปลูกกันมากในจีนและรัสเซีย

เมล็ดเมื่อเอาเปลือกออกแล้ว นิยมเอาเนื้อด้านในมาบดเป็นแป้งสำหรับทำอาหารได้หลากหลายชนิด อาทิ ขนมปัง แพนเค้ก เส้นกีวยเตี๋ยว เป็นอาหารที่ไม่มีกลูเตน

ในสมัยก่อนในช่วงที่ญี่ปุ่นขาดแคลนอาหาร บัควิทกลายเป็นอีกอาหารหลักของชาวญี่ปุ่นที่นิยมมากในการนำมาทำเป็นเส้นโซบะจวบจนถึงปัจจุบัน

บัควีทอุดมไปด้วยสารอาหารหลากชนิด อาทิ ใยอาหาร โปรตีน คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง แมงกานีส รูติน เควอซิทีน และไฟโตสเตอรอล

บัควีทช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและคลอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยในการเผาผลาญพลังงานในร่างกายและป้องกันอาการท้องผูก


ประโยชน์ของข้าวโพด

15. ข้าวโพด (Corn หรือ Cornmeal)

ข้าวโพดเดิมนั้นทีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง เป็นธัญพืชโบราณที่เป็นอาหารหลักสำหรับผูคนมานานกว่าเก้าพันปี โดยกลุ่มชนแรกที่เริ่มเพาะปลูกและนำมาเป็นอาหารคือชาวมายาและชาวแอซแท็ก ต่อมาค่อยแพร่หลายไปยังอเมริกาและทั่วโลก จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของหลายๆประเทศรวมทั้งประเทศไทยเช่นกัน

ข้าวโพดสามารถนำมารับประทานได้เเลย เช่น ต้ม ปิ้งย่าง หรือข้าวโพดหวาน หรือจะนำมาปรุงใหม่เป็นป๊อปคอร์นหรือข้าวโพดอบเนยก็ได้ ที่นิยมมากคือจะนำมาทำเป็นแป้งข้าวโพดสำหรับทำขนมปัง

ข้าวโพดอุดมไปด้วยสารอาหารหลากชนิด อาทิ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร วิตามิน A วิตามิน C วิตามิน B1 (ไทอามีน) วิตามิน B3 (ไนอาซิน) วิตามิน B5 (แพนโทธีนิก) วิตามิน B6 โฟเลต แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี และโพแทสเซียม

ข้าวโพดมีประโยชน์ต่อสุขภาพค่อนข้างจะหลากหลาย เช่น คาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงาน ใยอาหารที่ช่วยระบบย่อยอาหารและลดความเสี่ยงของโรคทางเดินอาหาร วิตามิน A และ C ที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและบำรุงผิวพรรณ รวมถึงวิตามิน B ที่ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอย่างแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูก ระบบประสาท และควบคุมความดันโลหิต ข้าวโพดยังเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจและมะเร็งอีกด้วย


ประโยชน์ของธัญพืชทีฟฟ์

16. ทีฟฟ์ (Teff)

ทีฟฟ์เป็นธัญพืชที่นิยมปลูกและใช้เป็นอาหารในเอธิโปเปียมานานมากแล้ว โดยเมล็ดทีฟฟ์จะถูกนำไปทำขนมปังอินเจร่า (Injera) ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติของชาวเอธิโอเปียเลยทีเดียว ต่อมาได้รับความนิยมบริโภคในทั่วโลกเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูงมากและไม่มีกลูเตน

เมล็ดทีฟฟ์เป็นธัญพืชเมล็ดจิ๋วคล้ายเมล็ดงา ลักษณะกลมละเอียด มีหลายสีแล้วแต่ว่าเป็นสายพันธุ์ไหน ได้แก่สีดำ ขาว น้ำตาลแดง หรือทอง 

การนำมารับประทาน นิยมเอากินเป็นซีเรียลอาหารเช้า หรือจะเอาไปต้มให้สุกแล้วกินเปล่าๆกับนมหรือผลไม้ ส่วนแป้งทีฟฟ์นิยมเอาไปทำขนมอบต่างๆ

ทีฟฟ์อุดมไปด้วยสารอาหารหลากชนิด อาทิ โปรตีน แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ไทอามีน ไรโบฟลาวิน ไนอะซิน วิตามินบี6 วิตามินอี โฟเลต ไอโอดีน สังกะสี ฟลาโวนอยด์

ทีฟฟ์มีประโยชน์ทางโภชนาการมากมาย โดยเฉพาะการเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูง ซึ่งช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและบำรุงร่างกาย นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียมที่ช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน, เหล็กที่ช่วยในการป้องกันโรคโลหิตจาง, แมกนีเซียมที่ช่วยบำรุงระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และฟอสฟอรัสที่ช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน อีกทั้งยังมีวิตามินบีและสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง


ประโยชน์ของเมล็ดอามารานธ์

17. อามารานธ์ (Amaranth)

อามารานธ์เดิมเป็นธัญพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเม็กซิโกและเปรู ในอดีตนิยมใช้เป็นอาหารสำหรับผู้คนและเครื่องบูชาในศาสนาของชาวเผ่าอัซเท็กซ์และอินคา มีคุณค่าทางโภชนากาค่อนข้างสูง

เมล็ดอามารานธ์เป็นธัญพืชทีมีขนาดเล็กคล้ายๆพวกเมล็ดงา มีหลายสีแล้วแต่สายพันธุ์ แต่ที่นิยมส่วนมากจะเป็นเมล็ดสีทอง มีลักษณะเรียบกลม รสชาติจะคล้ายกับถั่วนิดๆและให้รสสัมผัสที่กรุบกรอบ

เมล็ดอามารานธ์สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายวิธี เช่น ต้มให้สุกแล้วใช้ทดแทนข้าว ใช้ทำขนมปัง เค้กหรือขนมอบที่ไม่มีกลูเตน ทำเป็นซีเรียลอาหารเช้าหรือใส่ลงในสลัดเพื่อเพิ่มรสชาติและเนื้อสัมผัสกรุบกรอบ ยังเหมาะสำหรับการทำขนมหวานได้อีกด้วย

เมล็ดอามารานธ์มีสารอาหารมากมายหลายชนิด อาทิ โปรตีน ไฟเบอร์ แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินบี6 วิตามินอี ฟลาโวนอยด์ ไทอามีน ไรโบฟลาวิน ไนอะซิน สังกะสี โฟเลต

เมล็ดอามารานธ์เป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เนื่องจากมีโปรตีนสูงและไฟเบอร์ที่ช่วยในการย่อยอาหารและรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุสำคัญ เช่น แคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน เหล็กช่วยในการผลิตเม็ดเลือดแดง แมกนีเซียมที่ช่วยบำรุงระบบประสาทและกล้ามเนื้อ การทานอามารานธ์เป็นประจำยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด


การรับประทานธัญพืชอย่างเหมาะสม ควรเลือกรับประทานธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อยที่สุดช่วยรักษาคุณค่าทางโภชนาการ ธัญพืชจึงถือเป็นอาหารที่ควรเพิ่มในมื้ออาหารประจำวัน เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในระยะยาว



บทความแนะนำ
Banner Enxo Coffee

Enxo Coffee

บจก. คอสติค อินเตอร์เนชั่นแนล
461/1-3 ซ.แก้วฟ้า ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขต บางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

 089-7623334
 admin@enxocoffee.com

    Line ID: @enxo

Copyright 2025.  All rights reserved.