Line IconTelephone Icon
หน้าแรก > บทความเกี่ยวกับกาแฟ
ประวัติศาสตร์กาแฟ

By...  Enxo Coffee เอนโซ่ กาแฟเพื่อสุขภาพผสมธัญพืช

คงปฎิเสธไม่ได้ว่าในยุคนี้กาแฟกลายเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตของคนทั่วโลก โดยเฉพาะในเมืองไทย กาแฟกลายเป็นเครื่องดื่มขวัญใจมหาชน มีร้านคาเฟ่ดีๆมากมายเกิดขึ้นไปทั่วเหมือนดอกเห็ด นั่นเพราะรสชาติที่นุ่มนวลกลมกล่อมละมุนละไมที่ชวนให้ผู้คนต้องหลงไหลกันหัวปักหัวปำ หลายคนต้องดื่มกันทุกวันเหมือนติดใจเลิกกันไม่ได้

แต่กว่าจะกลายมาเป็นเครื่องดี่มยอดฮิตนี้ กาแฟมีประวัติศาสตร์อันยาวนานที่น่าสนใจน่าติดตาม มีเส้นทางเดินทางที่มหัศจรรย์จนกระจายไปทั่วโลก วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องราวแสนน่าฉงนให้ฟังกัน


ตำนานจุดเริ่มต้นของกาแฟ

ตำนานจุดเริ่มต้นของกาแฟ

มีหนึ่งตำนานที่ถูกเล่าขานกันมา เป็นเรื่องราวของคนเลี้ยงแพะคนหนึ่งในประเทศเอธิโอเปียแอฟริกา คนผู้นี้มีนามว่า "คาลดี (Kaldi)" 

วันหนึ่งคาลดีได้พาฝูงแพะไปกินใบไม้ใบหญ้าบนเขาตามปกติ แต่วันนั้นคาลดีพบว่าฝูงแพะบังเอิญไปกินผลไม้สีแดงชนิดหนึ่งจากต้นไม้ริมทาง แล้วคืนนั้นทีกลับมา ฝูงแพะไม่ยอมหลับยอมนอน กระโดดโลดเต้นกันไปมาคล้ายกับมีพลังอะไรบางอย่างดลบันดาลให้พวกมันเป็นอย่างนั้น

วันต่อมาคาลดีเลยพาฝูงแพะไปหากินแถวๆที่เดิมอีกครั้ง คราวนี้เขาได้ลองแวะไปเด็ดเจ้าผลไม้สีแดงนี้มาลองชิมดู เขาก็รู้สึกว่ามันทำให้เขารู้สึกตื่นตัวกระฉับกระเฉงอย่างน่าประหลาดใจ เขาจึงนำผลไม้ชนิดนี้ไปให้เหล่านักบวชในเมืองลองชิมดู ผลปรากฎว่าคืนนั้นนักบวชเหล่านั้นรู้สึกระปรีกระเปร่าแม้ยามค่ำคืน จากที่เคยสวดมนต์อตอนดึกแบบว่าง่วงไปหลับไป กลับสวดมนต์กันโต้รุ่งอย่างแสนสบายไม่ง่วงหงาวหาวนอน  

ผลไม้สีแดงนี้เลยถูกนำมาทำเป็นเครื่องดื่มสำหรับนักบวชในอาศรม และหลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มแพ่รหลายไปยังผู้คนในหมู่บ้านจนเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตของคนยุคนั้นไปเลย

ผลไม้สีแดงนี้เกิดขึ้นจากต้นไม้ในเขตร้อนของเอธิโอเปีย ในดินแดนที่เรียกว่า "คัฟฟา (Kaffa) และภายหลังถูกเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "คอฟฟี่ (coffee)" ซึ่งเป็นที่มาของรากศัพท์ที่เราเรียกกันว่ากาแฟนั่นเอง

และที่สำมะคัญ เอธิโอเปียจึงเป็นถิ่นต้นกำเนิดของเมล็ดกาแฟฟันธ์เก่าแก่ที่สุดในโลกคือสายพันธุ์ "อาราบิก้า(Arabica)" ซึ่งเป็นพันธุ์ที่หลายๆคนบอกว่าเป็นสายพันธุ์ที่อร่อยนุ่มนวลที่สุด

เอธิโอเปียจึงถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ที่สุดของโลก และได้พัฒนาสายพันธุ์อาราบิก้าออกมาอย่างหลากหลายรสชาติ เช่น กาแฟยีร์กาชีฟ (Yirgacheffe) และ กาแฟซิดาโม (Sidamo) เป็นต้น

นี่จึงเป็นเรื่องราวที่เล่าขานกันมาอย่างไม่รู้เบื่อจนถึงปัจจุบัน


จุดเริ่มต้นของวิธีการชงกาแฟต้นตำรับ

จุดเริ่มต้นของวิธีการชงกาแฟต้นตำรับ

วิธีการนำกาแฟมาพัฒนาเป็นเครื่องดื่มนั้น ว่าไปแล้วก็เริ่มจากกลุ่มนักบวชในเอธิโอเปียที่เล่าให้ฟังในตอนต้น กลุ่มนักบวชเหล่านี้แค่ใช้เทคนิคการทำน้ำสมุนไพรมาประยุคใช้ด้วยขั้นตอนง่ายๆดังนี้

เริ่มต้นจากนำเมล็ดกาแฟดิบมาคั่วในกระทะร้อนๆจนกลิ่นหอมคลุ้งกระจุยกระจายไปสามบ้านสิบบ้าน

เสร็จแล้วก็จะนำเมล็ดกาแฟที่คั่วเสร็จแล้วมาบนหยาบด้วยครกหิน เสร็จแล้วจึงนำไปต้มกับน้ำร้อนให้หม้อดินเผาที่เรียกกันเท่ๆว่า "หม้อเจบิน่า (Jebena)" จนน้ำกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นก็ฟุ้งกระจายไปสามบ้านสิบบ้าน (อีกแล้ว หุๆ)

หลังจากนั้นก็นำน้ำที่ได้ไปกรองแล้วก็เสิร์ฟให้ผู้คนได้ลิ้มลองกัน บางคนก็เติมเกลือบ้าง น้ำตาลบ้าง แล้วแต่ความชอบส่วนตัว แต่สมัยนั้นยังไม่มีคอฟฟี่เมท อาจจะยังไม่กลมกล่อมมากเหมือนยุคนี้นะ จะบอกให้


การกระจายความนิยมของกาแฟจากเอธิโอเปียสุ่ทั่วโลก

การกระจายความนิยมของกาแฟจากเอธิโอเปียสุ่ทั่วโลก

จากจุดเล็กๆในเอธิโอเปีย กาแฟเริ่มมีการเดินทางสู่ประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว พอจะสรุปช่วงเวลาต่างๆได้ดังนี้


1. การเดินทางของกาแฟจากเอธิโอเปียสู่เยเมน (Yemen)

เยเมนเป็นประเทศหนึ่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรอาหรับ อยู่ไม่ไกลจากเอธิโอเปียเท่าไหร่นัก มีแค่ทะเลแดงคั่นกลางเท่านั้น

ในช่วงศตวรรษที่ 15 พ่อค้าจากอาหรับในสมัยก่อนไปๆมาๆที่เอธิโอเปียอยู่บ่อยๆ และวันหนึ่งเมื่อพบว่ากาแฟเป็นเครื่องดื่มที่น่าสนใจมาก น่าจะเมคมันนี่ได้มาก จึงเริ่มขนเมล็ดกาแฟดิบข้ามทะเลแดงไปลองขายที่เยเมน (Yemen) ปรากฏว่าขายดิบขายดี ชาวเยเมนติดใจกันยกใหญ่

พ่อค้าอาหรับจึงเริ่มคิดการณ์ไกล ทีนี้จิ๊กเอาเมล็ดกาแฟจากเอธิโอเปียไปปลูกเองที่เยเมนซะเลย ในบริเวณตอนใต้ของเยเมนรอบๆเมือง"โมคา (Mocha)" เริ่มคุ้นๆชื่อนี้กันบ้างแล้วใช่มั้ยท่านผู้ชม ^^

การปลูกกาแฟที่นี่เป็นการปลูกกาแฟบนเขา ด้วยภูมิความรู้ของชาวเยเมนที่ใช้เทคนิคการปลูกแบบขั้นบันได้ผสานกันระบบชลประทานที่ดีของที่นี่ ทำให้ผลผลิตกาแฟเติบโตอย่างมหาศาล และได้เมล็ดกาแฟที่อร่อยไม่แพ้เอธิโอเปียเลย

ในที่สุดเมืองโมคานี้ก็กลายเป็นเมืองท่าสำคัญของกาแฟ และเป็นแหล่งเพาะปลูกของกาแฟที่เรียกว่าระดับพรีเมี่ยมกันทีเดียว เป็นที่ถูกใจของเหล่าไฮโซทั้งหลาย และที่สำคัญ ชาวเยเมนเริ่มพัฒนาเทคนิคการคั่วเมล็ดกาแฟให้ดีขึ้นไปอีกระดับ ส่งผลให้ได้รสชาติกาแฟที่อร่อยละมุนขึ้นอย่างน่ามหัศจรรย์เลยทีเดียวเจ้าข้า

กาแฟถูกนำมาพัฒนาเป็นเครื่องดื่มอย่างต่อเนื่องในเยเมน และชาวเยเมนก็เรียกขานเจ้าเครื่องดื่มสุดวิเศษนี้ว่า "คาวา (Qahwa)"

เมื่อกาแฟกลายเป็นสินค้าสำคัญของเยเมน เยเมนเองก็เกรงว่ากาแฟจะถูกนำไปปลูกในประเทศอื่นๆทำให้เกิดคู่แข่ง ก็จึงพยายามควบคุมการเม็ดกาแฟดิบ โดยควบคุมการส่งออกให้สามารถส่งออกได้เฉพาะเมล็ดกาแฟที่คั่วแล้วหรือผ่านการต้มเท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี เมล็ดกาแฟดิบก็ยังถูกลักลอบส่งออกและถูกนำไปปลูกบนพื้นที่อื่นอย่างมากมาย


2. การเดินทางของกาแฟจากเยเมนกระจายสู่ทั่วคาบมหาสมุทรอาหรับ

อาหรับเป็นกลุ่มชนชาติที่อาศัยอยู่ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ มีต้นกำเนิดมาจากคาบสมุทรอาหรับ(Arabian Peninsula) อาทิ ซาอุดิอาระเบีย เยเมน โอมาน อิรัก และอื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม

เมื่อกาแฟได้รับความนิยมในเยเมนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งเล็กๆของอาหรับ เหล่าพ่อค้าอาหรับมากมายก็เริ่มนำไปเผยแพร่ความนิยมให้กับหลากหลายประเทศในกลุ่มอาหรับด้วยกัน และกาแฟก็เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะนอกจะถูกใจในความอร่อยถูกปากชาวมุสลิมแล้ว ยังทำให้รุ้สึกกระปรี้กระเปร่าในช่วงพิธีละหมาดได้นานขึ้นโดยไม่ง่วงนอนอีกต่างหาก

ที่สำคัญเมื่อได้รับความนิยมอย่างสุงในเมืองเมกกะของประเทศซาอุอาระเบียซึ่งเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของศาสนาอิสลามที่ชาวอิสลามต้องไปแสวงบุญ ก็ยิ่งทำให้กาแฟแพร่หลายอย่างเร็วติดจรวดอย่างไม่น่าเชื่อ

มีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนว่า ร้านกาแฟหรือคาเฟ่แห่งแรกของโลกเริ่มต้นที่เมืองเมกกะนี้ เป็นสถานที่ที่ผู้คนแวะเวียนเข้ามาลิ้มรสกาแฟและพูดคุยกัน ถือว่าเป็นคาเฟ่ต้นแบบของโลกเลยทีเดียว

ในขณะเดียวกันที่เมืองเมดีนา (Medina) และ เจดดาห์ (Jeddah) ในซาอุอาระเบียก็กลายเป็นศูนย์กลางการค้ากาแฟที่สำคัญของอาหรับ

ต่อมา กาแฟก็เริ่มแพร่กระจายไปยังอาณาจักรอื่นๆที่อยุ่ใกล้เคียงกัน เช่น อิยิปต์ และซีเรีย เป็นต้น


3. การแพร่กระจายของกาแฟเข้าสู่จักรวรรดิออตโตมัน

จักรววรรดิออตโตมันเป็นกลุ่มประเทศบนดินแดนที่เชื่อมต่อระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับทวีปยุโรป นับว่าเป็นจุดสำคัญที่นำกาแฟเข้าสู่ยุโรปตะวันตกอย่างสมบูรณ์

เมื่อพ่อค้าชาวอาหรับเริ่มนำกาแฟมาเผยแพร่ที่เมืองคอนสแตนติโนเบิลในจักรวรรดิออตโตัมัน ซึ่งปัจจุบันก็คือเมืองอิสตันบูล ซึ่งเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญ ทันทีที่กาแฟได้รับความนิยม กาแฟก็เริ่มถูกกระจายออกไปต่อยังเส้นทางสายยุโรปผ่านเมืองนี้ในทันที พูดได้การเดินทางของกาแฟเหมือนเสือติดปีกเลยอะไรประมาณนั้น

ค่าเฟ่หรือ Coffee House ก็เริ่มเปิดกันอย่างแพร่หลายในเมืองอิสตันบูลนี้ จนกล่าวกันว่าเป็นสถานที่ชุมนุมของนักปราชญ์ ผู้รู้ และพ่อค้ามากมาย


4. การเดินทางของกาแฟสู่ยุโรป

ในปี 1615 ได้มีพ่อค้าชาวเมืองเวนิสในอิตาลีที่ได้ทำการค้ากับชาวออตโตมันก็ได้เริ่มนำกาแฟจากอิสตันบูลเข้าสู่ยุโรปเป็นครั้งแรกที่เมืองเวนิส(Venice)อันเป็นเมืองท่าสำคัญของอิตาลี และเป็นศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป

เริ่มทีเดียว กาแฟที่นำเข้ามามีราคาสูงมาก แต่ก็กลายเป็นสินค้าหรูหราได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มคนชั้นสูงและขุนนางของอิตาลี ถือว่าเป็นสินค้าพรีเมี่ยมในยุคนั้นเลย และมักจะถูกนำไปเสริฟในงานเลี้ยงสังสรรค์ของกลุ่มผู้คนเหล่านั้น ใครได้ดื่มยุคนั้นเรียกกันได้ว่าไฮโซไปเลย

ในปี 1645 คาเฟ่แห่งแรกของยุโรปก็ถูกเปิดขึ้นที่เมืองเวนิส เพื่อใช้เป็นสถานที่พูดคุยสังสรรค์ของกลุ่มคนชั้นสูงทั้งหลาย ซึงหนึ่งในคาเฟ่เก่าแก่ที่มีชื่อเสียงก็คือคาเฟ่ Caffè Florian ซึ่งถูกเปิดขึ้นในปี 1720 และปัจจุบันก็ยังเปิดให้บริการกันอยู่

จากนั้นไม่นาน กาแฟก็เริ่มแพร่กระจายขยายตัวไปยังประเทศต่างๆในยุโรป ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส หรืออื่นๆ

ในศตวรรษที่ 18 กาแฟเริ่มมีราคาถูกลง กาแฟจึงเริ่มได้รับความนิยมในกลุ่มผู้คนทั่วไป  


5. การเดินทางของกาแฟสู่ทวีปเอเชีย

กาแฟเริ่มถูกนำมาเผยแพร่สู่ทวีปเอเชียผ่านหลายๆเส้นทางต่างกัน

ในอินเดีย ได้มีมีนักบวชคนหนึ่งนามว่า บาบาบูดัง แอบนำเอาเมล็ดกาแฟดิบมาจากเยเมนโดยซ่อนไว้ในแขนเสื้อ แล้วนำมาปลูกที่อินเดียในดินแดน Chikmagalur ทางตอนใต้ของอินเดีย แล้วต่อมาเมื่อได้รับความนิยมก็ถูกนำไปขยายพันธุ์ปลูกกันในอีกหลายพื้นที่

ในอินโดนีเซีย ในสมัยที่ตกเป็นเมืองขึ้นของชาวดัทช์แห่งประเทศฮอลแลนด์ ในช่วงประมาณปี 1696 ชาวดัทช์ก็นำเอาต้นพันธุ์กาแฟอาราบิก้าจากเยเมนมาทดลองปูที่เกาะชวา (Java) ในโดนีเซียที่เป็นเมืองขึ้น ปรากฎว่าต้นกาแฟสามารถเติบโตได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะพื้นที่ภูเขาไฟ ชาวดัทช์จึงกระหน่ำปลูกไปทั่วเกาะ จนต่อมาภายหลังอินโดนีเซียจึงเป็นผู้ผลิตและส่งออกกาแฟรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลกไปเลย แค่คำว่า "Java" ก็กลายเป็นคำภาษาอังกฤษที่เรียกกาแฟที่มาจากเกาะชวาโดยเฉพาะ

ในประเทศจีนช่วงศตวรรษที่ 19 พวกฝรั่งพ่อค้าชาวตะวันตกจากอังกฤษและฝรั่งเศสได้นำกาแฟเข้ามาสู่จีนผ่านการขนส่งทางทะเลผ่านเมืองท่าทางเซี่ยงไฮ้ แต่ยุคนั้นไม่ได้รับความนิยมจากผู้คนชาวจีนมากนักเพราะยังมองว่าเป็นเครื่องดื่มของพวกฝรั่งและมีราคาแพง จึงได้รับความนิยมเฉพาะชาวยุโรปที่อยู่ในจีนเท่านั้น แต่ต่อมาภายหลังที่จีนเริ่มมีการเปิดประเทศ กาแฟก็เริ่มถูกนำมาขายกันอย่างแพร่หลายในเมืองต่างๆ และปัจจุบันก็กลายเป็นเครื่องดี่มยอดฮิตติดตลาดไป ร้านสตาร์บัคส์ร้านดังที่เริ่มเข้าไปขยายสาขาในจีนก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นความนิยมการดื่มกาแฟของชาวจีนในยุคปัจจุบัน

ในประเทศญี่ปุ่น หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงจากยุคเอโดะมาเป็นการบริหารโดยรัฐบาลเมจิ ญี่ปุ่นเริ่มนโยบายการค้าเปิดรับการค้า เทคโนโลยีและวัฒนธรรมจากกลุ่มประเทศตะวันตก กาแฟก็ถูกนำเข้ามาผ่านเส้นทางการค้ากับชาวยุโรปโดยเฉพาะชาวอังกฤษและฮอลแลนด์ และได้มีการเปิดร้านกาแฟแห่งแรกที่เมืองโยโกฮาม่า มีชื่อเท่ๆว่า "โคฮิยะ" แต่ช่วงนั้นชาวญี่ปุ่นก็ไม่ได้ปลื้มกับเครื่องดื่มชนิดนี้สักเท่าไหร่เพราะส่วนใหญ่ยังนิยมดื่มชาเขียวญี่ปุ่นกันซะมากกว่า แต่ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง กาแฟกลับเริ่มได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่น และมีการดื่มกันมากขึ้นต่อมา โดยเฉพาะเป็นเครื่องดื่มที่ชาวญี่ปุ่นนิยมดื่มพร้อมกับการกินขนมเค้กไปด้วย

สำหรับในประเทศไทยเอง กาแฟถูกนำเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาโดยพ่อค้าชาวยุโรป แต่ยุคนั้นคนไทยก็ไม่ได้นิยมกันนัก กาแฟจะดื่มกันแค่กลุ่มคนยุโรปที่เข้ามาในเมืองไทยกันเท่านั้น ต่อมาในปลายช่วงรัชสมัยของรัชการที่ 5 เจ้าฟ้ากรมหลวงวงศาธิราชสนิท ก็ได้นำกาแฟมาทดลองปลูกในเมืองหนาวที่เชียงใหม่และเชียงราย จนได้เมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิก้าที่มีรสชาติเฉพาะตัว จึงเริ่มปลูกเป็นวงกว้างทางภาคเหนือจนกลายเป็นแหล่งผลิตกาแฟที่สำคัญของไทย ต่อมาไม่นานกาแฟก็เริ่มได้รับความนิยมมากมายในกลุ่มคนไทย


6. การเดินทางของกาแฟสู่ทวีปอเมริกา

ในต้นศตวรรษที่ 18 กัปตันเรือชาวดัทช์(ฮอลแลนด์)ได้แอบจิ๊กต้นกาแฟมาจากอียิปต์แล้วนำมาทดลองปลูกในประเทศบราซิลในแถบอเมริกาใต้ ปรากฎว่าปลูกได้ดีและได้รสชาติที่ดีเป็นเอกลักษณ์ จึงขยายพื้นที่ปลูกกันอย่างสนุกสนาน และในที่สุดบราซิลก็กลายเป็นอีกแหล่งผลิตกาแฟที่ดีที่สุดและใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งบราซิลนี้จะนิยมปลูกทั้งพันธุ์อาราบิก้าและโรบัสต้า

ต่อมาก็มีการขยายการเพาะปลูกไปยังประเทศใกล้เคียง อาทิ คิวบา โคลอมเบีย คอสตาริกา กัวเตมาลา และฮอนดูลัส ซึ่งภายหลังก็กลายเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่อีกแห่งของโลกเช่นกัน

อีกแหล่งผลิตกาแฟที่สำคัญของอเมริกาใต้ก็คือประเทศเม็กซิโก ซึ่งได้นำเมล็ดกาแฟดิบมาจากคิวบาในช่วงศตวรรษที่ 18 มาปลูกที่รัฐเวราครูซทางตอนใต้ของเม็กซิโก พบว่าในพื้นที่นี้และอีกหลายพื้นที่ในเม็กซิโกมีสภาพอากาศและภูมิประเทศเหมาะกับการเพาะปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้าเป็นอย่างมาก จึงมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกกาแฟอย่างรวดเร็วและกว้างขวางจนทำให้เม็กซิโกกลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตกาแฟที่ใหญ่ที่สุดของโลกไปโดยปริยาย และได้สร้างชื่อสายพันธุ์กาแฟระดับโลกอีกมากมายหลายสายพันธุ์ เช่น Chiapas Coffee, Oxaca Coffee และ Baja Coffee ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องของรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์

สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ในช่วงที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ได้มีพ่อค้าชาวอังกฤษเริ่มนำกาแฟจากเยเมนเข้ามายังเขตอาณานิคมนิวอิงแลนด์ และกลายเป็นที่นิยมเฉพาะในกลุ่มของชาวอังกฤษชนชั้นสูงและชั้นกลางที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้เท่านั้น แต่ต่อมาหลังสงครามกลางเมือง กาแฟกลับได้รับความนิยมชมชอบจากชาวอเมริกัน มีการเปิดร้านกาแฟมากมายเป็นดอกเห็ดและได้รับความนิยมเป็นเครื่องดื่มประจำชาติที่เป็นอีกประเทศที่นิยมการดื่มกาแฟมากที่สุดในโลก และสำหรับการปลูกกาแฟในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีเฉพาะที่เกาะฮาวายเท่านั้นที่มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม และแม้ฮาวายจะไม่ใช่ใช้ผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ แต่ก็กลายเป็นผู้ส่งออกกาแฟคุณภาพสูงระดับพรีเมี่ยมไปเลย  


7. การเดินทางของกาแฟสู่ทวีปโอเชี่ยนเนีย

ทวีปโอเชี่ยนเนีย (Ociania) เป็นทวีปที่เป็นที่ตั้งหลักของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

ในยุคที่ออสเตรเลียยังเป็นเมืองอาณานิคมของอังกฤษ กาแฟได้ถูกนำเข้ามาเพื่อการดืมกินของชาวอังกฤษและชาวยุโปรอื่นที่อพยพมาตั้งรกรากอยู่ที่ออสเตรเลียเท่านั้น 

ต่อมาก็ได้มีการทดลองนำเอาต้นกาแฟจากอินโดนีเซียและบราซิลมาทดลองปลูกในพื้นที่ของรัฐควีนส์แลนด์ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีภูมิอากาศเหมาะสมที่สุดแล้วเพราะเป็นพื้นที่ร้อนชื้น การเพาะปลูกกาแฟที่นี่ค่อยๆเป็นไปอย่างช้าๆไม่หวือหวามากนัก โดยนำไปใช้ดื่มกินสำหรับผู้คนในประเทศเท่านั้น แต่ในที่สุดเมื่อผู้คนเริ่มนิยมการดื่มกาแฟเพิ่มขี้น ควีนส์แลนด์ก็เลยกลายเป็นแหล่งเพาะปลูกหลักของออสเตรเลียไป และกาแฟที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือกาแฟที่ปลูกได้ในเทือกเขาแคนเบอร่าของออสเตรเลียนั่นเอง

ต่อมากาแฟก็เริ่มกลายเป็นที่นิยมกันอย่างมากโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างซิดนีย์และเมลเบริ์น และต่อมาแทบจะพูดได้เลยว่ากาแฟกลายไปเป็นเครื่องดื่มประจำชาติของออสเตรเลียเรียบร้อยแล้ว

สำหรับในนิวซีแลนด์ คนในพื้นที่นี้ก็ได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจากทางฝั่งออสเตรเลียที่อยู่ไม่ไกลกัน แต่นิวซีแลนด์ก็ไม่นิยมปลูกต้นกาแฟกันมากนักเพราะภูมิอากาศไมได้เอื้ออำนวย แต่คนนิวซีแลนด์เองก็ไม่ได้นิยมการดื่มกาแฟน้อยไปกว่าคนออสเตรเลียเลย


โดยสรุปแล้ว กว่ากาแฟจะเดินทางไปทั่วโลกได้นั้น ต้องผ่านเส้นทางที่น่าตื่นเต้นมากมายกว่าจะเป็นที่นิยมของผู้คนทั่วโลก ซึ่งพูดไปแล้วมันไปไม่ได้เป็นเครื่องดื่มธรรมดาเท่านั้น แต่ยังเป็นสื่อที่นำพาผู้คนให้เข้ามาร่วมพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอีกด้วย แล้วคุณจะไม่ลองชิมกาแฟดูสักถ้วยหรือ


บทความแนะนำ
Banner Enxo Coffee

Enxo Coffee

บจก. คอสติค อินเตอร์เนชั่นแนล
461/1-3 ซ.แก้วฟ้า ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขต บางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

 089-7623334
 admin@enxocoffee.com

    Line ID: @enxo

Copyright 2025.  All rights reserved.